ISO
สอบเทียบ บริการสอบเทียบครื่องมือวัด(Calibration, Calibrater) มาตรฐาน ISO/IEC 17025
- สอบเทียบความดันบรรยากาศ (Barometer)
- สอบเทียบด้านปริมาตร (Flow Meter : Liquid, Air (Analytical)
- สอบเทียบด้านเคมี (Analytical) TDS, DO Meter, pH Meter, Oxygen Analyzer
- สอบเทียบความเร็วรอบ (Tachometer)
- สอบเทียบความเร็วลม (Anemometer)
- สอบเทียบแรงดัน (Differencial Pressure, Pressure Transmitter)
- สอบเทียบด้านมิติ ความกว้าง ความยาวและความหนา (Dimension)
- สอบเทียบ ความเข้มข้น (ความเค็ม, ความหวาน)Hand Refractometer / Brix, Salinometer / Salt Meter
- สอบเทียบความเข้มข้น Hydrometer
- สอบเทียบเครื่องแก้วGlassware / Plasticware
- สอบเทียบเครื่องชั่ง ( Balance )
- สอบเทียบด้านอุณหภูมิ (Temperature Transmitter, Infrared Thermometer
ติดต่อ โทร 028654647-8 โทรสาร 02865469 E-Mail : info@mit.in.th
http:/www.mit.in.th
ISO/IEC 17025 คือ มาตรฐานสากลซึ่งเป็นการประเมินความสามารถทางวิชาการของห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 ครอบคลุมทุกด้านของการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ ตั้งแต่การเตรียมตัวอย่างถึงความชำนาญในการวิเคราะห์ทดสอบ ถึงการเก็บบันทึกและการรายงานผล มาตรฐานนี้เน้นองค์ประกอบหลายด้านแต่ไม่ได้จำกัดเฉพะแค่ด้านเหล่านี้ ซึ่งได้แก่ระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ การควบคุมเอกสาร การปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน สถานที่และภาวะแวดล้อม เครื่องมือ การประมาณค่าความไม่แน่นอน หลักฐานความสอบกลับได้ การสุ่มตัวอย่างและอื่นๆ
มาตรฐาน ISO ที่สำคัญ
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) ได้รับเอาระบบคุณภาพอนุกรมมาตรฐานสากล ISO มาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพในการบริหารองค์กรโดยมาตรฐาน ISO ที่สำคัญได้แก่
ISO9000 ที่เน้นความสำคัญในเรื่องของระบบคุณภาพองค์กร
ISO14000 ที่เน้นความสำคัญในเรื่องของการจัดการดูและสิ่งแวดล้อมขององค์กร (Environment) และนอกจากนี้แล้วยังมี
มาตรฐาน มอก.18000 ซึ่งรับเอาแนวทางมาจาก BS8800 ที่เน้นการจัดการอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัยในองค์กรโดยลักษณะของมาตรฐาน ISO ประเภทต่างๆ สรุปได้ดังนี้
อนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 มีเนื้อหาแบ่งออกได้ 5 เรื่อง ดังนี้
ISO 9000 ใช้เป็นแนวทางในการเลือกและกรอบในการเลือกใช้มาตรฐาน ชุดนี้ให้เหมาะสม
ISO 9001 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพซึ่งกำกับดูแลตั้งแต่การออกแบบ การพัฒนาการผลิต การติดตั้งและการบริการ
ISO 9002 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพซึ่งกำกับดูแลเฉพาะการผลิต การติดตั้งและการบริการ
ISO 9003 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลเฉพาะการตรวจสอบขั้นสุดท้าย
ISO 9004 เป็นแนวทางเพื่อใช้ในการบริหารระบบคุณภาพให้เกิด ประสิทธิภาพ สูงสุด
จะเห็นว่า ISO 9000 และ ISO 9004 เป็นแนวทางในการเลือกใช้มาตรฐาน ISO ชุดนี้ ดังนั้นมาตรฐานที่องค์กรสามารถขอใบรับรองได้คือ ISO 9001 ISO 9002 และ ISO 9003
อนุกรมมาตรฐาน ISO 14000 : มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม
ISO 14000 เป็นมาตรฐานที่นำไปใช้กับการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทั้งในส่วนของกิจการภายใน การผลิตสินค้า และการจัดการเรื่องผลกระทบ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ครอบคลุมถึงระบบโครงสร้างองค์กร การกำหนดความรับผิดชอบ การปฏิบัติงาน ระเบียบปฏิบัติ กระบวนการดูแลทรัพยากร มาตรฐาน ISO 14000 นี้ สามารถใช้ได้กับทั้งระบบอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ เช่นเดียวกับ ISO 9000 ทั้งนี้เพราะในแต่ละองค์กรมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น และ สมอ.ได้นำมาประกาศใช้ในประเทศไทย เมื่อปี 2540 ในชื่อ "อนุกรมมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม มอก.-ISO 14000"
อนุกรมมาตรฐาน มอก.-ISO 14000 มีเนื้อหาแบ่งออกได้ 3 กลุ่มดังนี้
มาตรฐานระบบการบริหาร(Environmental Management Systems: EMS) ได้แก่
ISO 14001 เป็นข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
ISO 14004 เป็นข้อแนะนำด้านหลักการและเทคนิคในการจัดระบบ
ISO 14010 เป็นหลักการทั่วไปของการตรวจประเมิน
ISO 14011 เป็นวิธีการตรวจประเมินระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
ISO 14020 เป็นหลักการพื้นฐานในการติดฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
ISO 14021 เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และสัญลักษณ์ให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการสามารถประกาศรับรองตนเองได้ว่าได้ผลิตสินค้าและบริการที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ISO 14024 เป็นหลักการ ระเบียบปฏิบัติ ข้อกำหนดและวิธีการรับรองผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของหน่วยรับรอง
ISO 14040 เป็นหลักการพื้นฐานและกรอบการดำเนินงาน
ISO 14041 เป็นการรวบรวมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม
ISO 14042 เป็นการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ISO 14043 เป้นการแปรผลที่ได้จากข้อมูล
มาตรฐาน มอก.18000 : มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สมอ.ได้นำมาใช้ภายในประเทศก่อนที่ ISO จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการ โดยนำเอาเกณฑ์มาตรฐาน BS8800 ของอังกฤษมาใช้เป็นแนวทางในการจัดทำ ซึ่งครอบคลุมถึงแนวทางในการป้องกันมิให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพและอุบัติเหตุต่างๆ ต่อผู้ปฏิบัติงานและต่อสังคมโดยรวมทั้งภายในและภายนอกองค์กรตลอดจนรวมทั้งชุมชนใกล้เคียง
ISO 14012 เป็นข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้ตรวจประเมิน
แหล่งอ้างอิง
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=4e2ff974449fddd0 ชื่อ Miracle
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น